Apple Cawaii. Diary
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดประโยชน์และโทษ เช่น
1) ด้านสังคม สภาพเหมือนจริง การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันว่า ไวเบอร์สเปซ (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้า และการบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เหมือนจริง (virtual) เช่น เกมเสมือนจริง ห้องสมุดเสมือนจริง พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ห้องประชุมเสมือนจริง และที่ทำงานเสมือนจริง ซึ่งทำไห้ลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ตัวอย่างภาพเสมือนจริง ดังรูปที่ 1.31
สำหรับเกมเสมือนจริง อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเกมหรือชีวิตจริง อาจใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามที่เป็นข่าวในสังคมปัจจุบัน
รูปที่ 1.31 ตัวอย่างภาพเสมือนจริง
การใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Cash) การใช้เงินตราจะเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทำให้พกเงินสดน้อยลง เพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและการบริการต่างๆ ด้วยบัตรที่มีลักษณะเป็นบัตรสมาร์ต หรือสมาร์ตการ์ด (smart card) ดังรูปที่ 1.32 ซึ่งบัตรใบเดียวสามารถใช้ได้กับธุรกรรมหลายประเภท ตั้งแต่เป็นบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ บัตรประจำตัวพนักงานหรือบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ตลอดจนบัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหารต่างๆ
เนื่องจากพฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อาจมีผู้ประสงค์ร้ายลักลอบนำข้อมูล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และรหัสที่ใช้ในการถอนเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในทางที่ผิด เช่น ลักลอบเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัญชีเงินฝากของธนาคาร เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีของตนเอง การโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร หลอกให้ทำการโอนเงินจากบัญชีออกไปให้โดยบอกว่าจะทำการคืนเงินภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างการก่ออาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังรูปที่ 1.33
รูปที่ 1.33 ตัวอย่างการก่ออาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
บริการนำเสนอแบบตามคำขอหรือออนดีมานด์ (on demand) เป็นการเข้าถึงข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา เช่น การเลือกชมรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ทางเว็บไซด์ แทนการติดตามดูรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุ ตามตารางที่ทางสถานีกำหนดไว้ล่วงหน้า
การศึกษาออนดีมานด์ (education on demand) เป็นการเปิดเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา ณ ที่ใด เวลา ใดก็ได้ แล้วเลือกวิชาเรียนบทเรียนได้ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของอีเลิร์นนิง (e-Learning) ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์ ดังรูป 1.34
การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป (technology overlord) การพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ทำให้น่าสนใจ และสะดวกในการเข้าถึง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้บุคคลเกิดความลุ่มหลงจนเกิดเป็นอาการติดเทคโนโลยี เช่น ติดการใช้โทรศัพท์มือถือ การถ่ายคลิป การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความออนไลน์ การใช้อีเมล์ รูป 1.35 ผู้ติดเทคโนโลยี
รูป 1.34การนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์
เล่นเกมออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ รวมถึงการทำลายสัมพันธภาพทางสังคม เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานได้ ผู้ติดเทคโนโลยีมีอาการในลักษณะเดียวกับผู้ติดสิ่งเสพติดอย่างการพนัน สุรา หรือยาเสพติด ดังรูป 1.35 เริ่มต้นจากการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพิ่มระดับการใช้งานเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนถึงในภาวะที่ไม่สามารถหยุดการใช้งานได้ เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อลืมโทรศัพท์มือถือหรืออยู่ในสถานที่ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ ถึงแม้จะตระหนักถึงผลที่ตามมาเป็นอย่างดีก็ตาม ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรเอาใจใส่ ติดตามเทคโนโลยีให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ แทนการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไป
2) ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์(globalization) เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศน์ที่จะส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น ดังรูปที่ 1.36
รูปที่ 1.36 ระบบเศรษฐกิจของโลกที่ผูกพันกันทุกประเทศ
3) ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบผสม (hybrid engine) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมก็ต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมให้เครื่องยนต์ลดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการช่วยลดมลภาวะจากก๊าซ-ไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดังรูปที่ 1.37
รูปที่ 1.37 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์ ที่เสียหรือไม่ใช้งานแล้ว รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งต่างจากขยะทั่วไป เช่น ถุงพลาสติก และเศษอาหาร โดยในขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งๆ มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะและพลาสติก รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบกันอย่างซับซ้อน ยากต่อการแยกออกมา โดยเฉพาะในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีรายงานพบว่าขยะเหล่านี้นอกจากจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังปลดปล่อยสารพิษปะปนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม การแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล จึงทำได้ยากมากกว่าขยะทั่วไป เพราะต้องมีขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม จึงต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญและต้องจัดการอย่างมีระบบ ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้คุ้มค่า จะซื้อใหม่เมื่ออุปกรณ์นั้นไม่สามารถซ่อมได้แล้ว และไม่เปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆตามกระแสนิยม ตัวอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดังรูปที่ 1.38
รูปที่ 1.38 ขยะอิเล็กทรอนิกส์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานด้านใด เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ใช้ได้กับงานทุกประเภทหรืองานเฉพาะด้าน แม้ว่าราคาเครื่องอุปกรณ์ต่างๆจะถูกลง แต่ผู้ใช้ควรเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้คุ้มค่ากับจำนวนเงิน ตัวอย่างของการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของงานแต่ละประเภท เช่น
งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับจัดการด้านเอกสารรายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ดูภาพยนตร์หรือสื่อทางการศึกษา ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น ซอฟแวร์ประมวลคำ และซอฟแวร์ตารางทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไป แต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบแอลซีดีขนาดใหญ่ 17 – 19 นิ้ว เพื่อถนอมสายตา เนื่องจากลักษณะงานต้องจ้องมองจอภาพตลอดเวลา
งานกราฟิก เป็นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ และมีการเรียกใช้งานโปรแกรมหราฟิกหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ใช้ซอฟแวร์กราฟิกในการสร้างชิ้นงาน เช่น งานสิ่งพิมพ์ งานนำเสนอแบบมัลติมีเดีย สร้างเว็บไซต์ ติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมากที่มีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไปใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูน แอนิเมชัน (animation) ตัดต่อวีดีทัศน์ ตัดต่อเพลง เล่นเกมที่มีกราฟิกสูง งานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดีควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟเนื่องจากการทำงานประเภทนี้คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนานถ้าหากไฟดับหรือไฟกระตุกจะไม่สะดวกในการเริ่มทำงานใหม่
การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น
เราควรทำอะไรบ้างกับคอมพิวเตอร์ของเรา
มีคนอีกจำนวนมากๆ ที่ไม่เคยดูแล รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือไม่ทราบว่าจะดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้อยู่กับเรานานๆ ได้อย่างไร อันนี้ไม่ได้โทษใคร แต่เราอยากจะแนะนำวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แบบพื้นฐาน อย่างน้อย จะได้ทราบว่า คอมพิวเตอร์ของเราอยู่ในสภาพแบบไหน พร้อมใช้งานหรือไม่
เริ่มต้นการดูแลรักษา ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์
สภาพภายนอก แนะนำให้ทำความสะอาดสักนิด อย่างน้อยก็เพื่ออนามัย และสุขภาพของคุณเอง คุณทราบหรือไม่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด มันสกปรกขนาดไหน (ลองคิดเล่นๆ ดูว่า วันๆ คุณหยิบจับอาหาร และใช้งานแป้นพิมพ์ หรือไม่ และฝุ่นละอองข้างๆ มีมากน้อยเพียงใด) ควรทำสะอาดบ้าง อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
สายไฟ สายสัญญาณต่างๆ หลวม หรือหักชำรุดหรือไม่ แนะเสียบปลั๊กแล้ว ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ แนะนำให้รีบแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ ให้รีบซื้อเปลี่ยนใหม่ดีกว่า ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ มีบ่อยกับคอมพิวเตอร์อย่างมาก วันดี คืนดี อาจเปิดไม่ติดเลย
พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ หลังจากเปิด Windows เข้ามาแล้ว ลองเช็คพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ เสียก่อนว่า เหลือเท่าไหร่ ถ้าเหลือน้อยกว่า 500 MB ก็ควรพิจารณาเพื่มพื้นที่ว่างได้แล้ว โดยเฉพาะกับ Drive C: (ซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรม) แนะนำให้สำรองข้อมูล โดยเฉพาะไฟล์ต่างๆ?ทีอยู่ใน My Documents ออกไปบ้าง หรืออาจสำรองลง Drive อื่นๆ (ถ้ามี)
ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือเรื่องพื้นที่ว่างแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่ามีจุดไหนเสียหรือไม่ วิธีการไม่จำเป็นต้องแกะเครื่องคอมฯ มาตรวจสอบ เพียงแค่ใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบ ประเภท Disk Defragment ก็สามารถเช็คได้แล้วว่า ฮาร์ดดิสก์ของเรามี "Bad Sector" หรือไม่ (Bad Sector เป็นจุดเสียของฮาร์ดดิสก์) ถ้ามี แนะนำให้รีบสำรองข้อมูล และเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ไปเลยจะปลอดภัยกว่า
ตรวจสอบไวรัสบ้าง ถึงแม้ว่าเราจะมีโปรแกรม Antivirus แล้วก็ตาม เราก็ยังคงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบไวรัสอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และที่สำคัญก็ควรอัปเดทโปรแกรมแบบออนไลน์ให้ทันสมัยอยู่เสมอด้วยเช่นกัน
แค่นี้ก็ช่วยลดปัญหาคอมพิวเตอร์ของคุณได้มากแล้วครับ ลองทำตามดูกันน่ะค่ะ
มีคนอีกจำนวนมากๆ ที่ไม่เคยดูแล รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือไม่ทราบว่าจะดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้อยู่กับเรานานๆ ได้อย่างไร อันนี้ไม่ได้โทษใคร แต่เราอยากจะแนะนำวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แบบพื้นฐาน อย่างน้อย จะได้ทราบว่า คอมพิวเตอร์ของเราอยู่ในสภาพแบบไหน พร้อมใช้งานหรือไม่
เริ่มต้นการดูแลรักษา ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์
สภาพภายนอก แนะนำให้ทำความสะอาดสักนิด อย่างน้อยก็เพื่ออนามัย และสุขภาพของคุณเอง คุณทราบหรือไม่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด มันสกปรกขนาดไหน (ลองคิดเล่นๆ ดูว่า วันๆ คุณหยิบจับอาหาร และใช้งานแป้นพิมพ์ หรือไม่ และฝุ่นละอองข้างๆ มีมากน้อยเพียงใด) ควรทำสะอาดบ้าง อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
สายไฟ สายสัญญาณต่างๆ หลวม หรือหักชำรุดหรือไม่ แนะเสียบปลั๊กแล้ว ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ แนะนำให้รีบแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ ให้รีบซื้อเปลี่ยนใหม่ดีกว่า ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ มีบ่อยกับคอมพิวเตอร์อย่างมาก วันดี คืนดี อาจเปิดไม่ติดเลย
พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ หลังจากเปิด Windows เข้ามาแล้ว ลองเช็คพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ เสียก่อนว่า เหลือเท่าไหร่ ถ้าเหลือน้อยกว่า 500 MB ก็ควรพิจารณาเพื่มพื้นที่ว่างได้แล้ว โดยเฉพาะกับ Drive C: (ซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรม) แนะนำให้สำรองข้อมูล โดยเฉพาะไฟล์ต่างๆ?ทีอยู่ใน My Documents ออกไปบ้าง หรืออาจสำรองลง Drive อื่นๆ (ถ้ามี)
ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือเรื่องพื้นที่ว่างแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่ามีจุดไหนเสียหรือไม่ วิธีการไม่จำเป็นต้องแกะเครื่องคอมฯ มาตรวจสอบ เพียงแค่ใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบ ประเภท Disk Defragment ก็สามารถเช็คได้แล้วว่า ฮาร์ดดิสก์ของเรามี "Bad Sector" หรือไม่ (Bad Sector เป็นจุดเสียของฮาร์ดดิสก์) ถ้ามี แนะนำให้รีบสำรองข้อมูล และเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ไปเลยจะปลอดภัยกว่า
ตรวจสอบไวรัสบ้าง ถึงแม้ว่าเราจะมีโปรแกรม Antivirus แล้วก็ตาม เราก็ยังคงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบไวรัสอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และที่สำคัญก็ควรอัปเดทโปรแกรมแบบออนไลน์ให้ทันสมัยอยู่เสมอด้วยเช่นกัน
แค่นี้ก็ช่วยลดปัญหาคอมพิวเตอร์ของคุณได้มากแล้วครับ ลองทำตามดูกันน่ะค่ะ
วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เป็นต่อขั้นเทพ ย้อนหลัง
เป็นต่อขั้นเทพ 21 กุมภาพันธุ์ 2556
เป็นต่อขั้นเทพ 14 กุมภาพันธุ์ 2556
เป็นต่อขั้นเทพ 31 มกราคม 2556
เป็นต่อขั้นเทพ 24 มกราคม 2556
เป็นต่อขั้นเทพ 17 มกราคม 2556
เป็นต่อขั้นเทพ 10 มกราคม 2556
เป็นต่อขั้นเทพ 3 มกราคม 2556
เป็นต่อขั้นเทพ 27 ธันวาคม 2555
เป็นต่อขั้นเทพ 27 ธันวาคม 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)